PMS คืออาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน สาเหตุ และ วิธีการแก้ไข

PMS คือ

อาการก่อนมีประจำเดือนหรือที่รู้จักกันในชื่อของ PMS คือ อาการแปรปรวนของร่างกาย หรือ ชื่อเต็มก็คือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลกระทบแต่ร่างกายและจิตใจของคุณผู้หญิงในช่วงเวลาก่อนที่จะมีประจำเดือน  ซึ่งบ้างครั้งคนรอบข้างอาจจะไม่เข้าใจ วันนี้เรามีข้อมูล สาเหตุ อาการ PMS และวิธีการรับมือ ด้วยตัวเองมาฝากสำหรับผู้ที่มีอาการ และ อาการ PMS วิธีแก้ อย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อมกันได้เลย

PMS คือ อะไร

อาการที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของสาวๆ PMS คือ อาการผิดปกติของร่างกายและจิตในช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ โดยยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่มีข้อสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนก่อนการมีประจำเดือน ซึ่งเป็นสาเหตุที่คล้ายคลึงกับการเกิดอาการ ช่องคลอดแห้ง และการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซลาโทนินลดลงก็จะส่งผลให้เกิด อาการ PMS ได้ โดยเป็นอาการทั่วๆ ไป ก่อนมีประจำเดือนซึ่งสามารถหายไปเองได้หลังจากมีประจำเดือน 2-3 วัน

PMS เกิดกับใครบ้าง

โดยทั่วไปแล้วอาการ PMS นั้นคืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัย 20-40 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งแต่ละคนจะตรวจพบอาการ และ ความรุนแรงที่มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยส่งผลทั้งร่างกายและจิตใจ

vaginal dryness consultant

PMS อาการเป็นอย่างไร

อาการทางร่างกาย

เช่นอาการ คัดตึงเต้านม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หิวบ่อย ปวดหัว ปวดท้องน้อย ปวดเมื่อยตามตัว

อาการทางจิตใจ

โดยจะมีอาการ เช่น หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย  ซึมเศร้า เบื่อหน่าย อารมณ์แปรปรวน

บางกรณีอาจจะนำไปสู่อาการ PMDD ซึ่งมีความรุนแรงโดยเฉพาด้านอารมณ์แบ่งออกเป็น 4 กรณีคือ

  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย พบเจอได้เป็นอันดับ 1 โดยจะมีอารมณ์รุนแรง และไม่สามารถระงับอารมณ์ได้
  • อารมณ์เศร้า มีอาการหดหู่ ท้อแท้ และเศร้าเป็นอย่างมาก
  • อารมณ์กังวล เกิดอาการวิตกกงัวลอย่างรุนแรงกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
  • อารมณ์อ่อนไหวง่าย แปลปรวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

ซึ่งอาการ Premenstrual Dysphoric Disorder นั้นจะต้องเป็นมาอย่างน้อย 2 รอบเดือน

PMS ต่างจากปวดท้องประจำเดือน

ถ้าเพียงแค่มีอาการปวดท้องประจำเดือนก็สามารถกินยาแก้ปวด เพื่อลดอาการแก้ปวดได้ทันที เพราะเป็นคนละสาเหตุปัจจัยอาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ส่วนอาการ PMS คือ อาการผิดปกติของร่างก่อนช่วงก่อนมีประจำเดือนนั่นเอง

5 อาการ PMS ( Premenstrual Syndrome ) คือ

สิวขึ้น

เมื่อใกล้ช่วงเป็นประจำเดือน ระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีการผลิตสารต่างๆออกมามากขึ้นจนบางครั้งทำให้เกิดการอุตันรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวขึ้นได้

เจ็บเต้านม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนในร่างกาย โดยจะมีอาการและค่อยๆลดลงเมื่อประจำเดือนรอบนั้นหมดลง

อารมณ์แปรปรวน

จากการที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อารมณ์อ่อนไหวง่าย โดยจะมีอาการ หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด กังวล รวมถึง ซึมเศร้า

นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย

ในช่วงก่อนการมีประจำเดือนร่างกายจะหลั่งสาร “เมลาโทนิน” ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้นอนหลับลดลง จะทำให้นอนไม่หลับและอ่อนเพลีย รวมถึง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น

อยากอาหารมากกว่าปกติ

โดยอาการนี้เกิดจากฮอร์โมน โพรเจสเตอโรน ถูกหลั่งออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารมาทดแทนนั่นเอง

รับมือกับอาการ PMS ได้อย่างไรบ้าง

  • การดูแลตัวเองให้พร้อมรับมือกับอาการ PMS ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมถึงการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการกับอารมณ์และความเครียด อย่างเช่น นั่งสมาธิหรือ การเล่นโยคะ
  • การใช้ยา ซึ่งมีทั้งยาที่หาซื้อได้เองและยาที่แพทย์ต้องสั่งจ่าย ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ ยา NSAIDS, ยาต้านเศร้า, PMDD, ยาขับปัสสาวะ, ยาคุมกำเนิด รวมถึง อาหารเสริมบางชนิด
  • วิธีการอื่นๆ เช่นการฝังเข็ม หรือ การบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่ช่วยจัดการอารมณ์เนื่องจากเกิดอาการ PMS

ที่จริงแล้ว PMS คืออะไรและมีวิธีรักษาอย่างไร

PMS คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วยก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่สามารถหายเองได้เมื่อมีประจำเดือน PMS จะมีตั้งแต่อาการเบาๆ ไปจนถึงอาการหนัก ยกตัวอย่างเช่น สิวขึ้น เจ็บเต้านม อยากอาการ นอนไม่กลับ แต่ถ้าหากเป็นแล้วไม่หายอาจจะเข้าสู่อาการ PMDD ขึ้ที่มีอาการหนักกว่าโดยเฉพาะด้านอารมณ์ ซึ่งแนวทางการรับมือกับอาการ PMS นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ดูแลตัวเอง ไปจนถึงการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการ ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ขอแนะนำว่าให้ปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยเพื่อหาวิธีการรับมือที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน

btn_shopee
btn_line